นัดหมาย ค้นหาแพทย์ ติดต่อเรา

โรคบาดทะยักในสัตว์เลี้ยง

สุนัข ,แมว 30 พฤศจิกายน 2566 2,563 ครั้ง

โรคบาดทะยักในสัตว์เลี้ยงเกิดขึ้นได้ในสุนัขและแมวเช่นกัน ซึ่งสัตว์แต่ละชนิดมีความไวต่อเชื้อไม่เท่ากันโดยคนและม้ามีโอกาสในการป่วยสูงมากแม้จะได้รับเชื้อเพียงเล็กน้อย แต่ในสุนัขและแมวนั้นมีความไวต่ำกว่าคนถึง 750 และ 3,000 เท่า

แต่ก็เป็นโรคที่ส่งผลต่อชีวิตโดยมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ซึ่งโรคบาดทะยักนั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Clostridium Tetani พบได้ในดินเมื่อเชื้อเข้าสู่บาดเเผลที่มีออกซิเจนต่ำจะเติบโตและสร้างสารพิษที่ชื่อ Tetanoplasmin ที่ส่งผลต่การยับยั้งกระแสประสาททำให้ระบบประสาทถูกกระตุ้นมากเกินไปเกิดอาการแข็ง เกร็ง ไวต่อสิ่งกระตุ้นหรือแม้แต่อาการชัก

อาการของบาดทะยักในสุนัขและแมวมีหลายระดับขึ้นกับตัวสัตว์และปริมาณสารพิษตัวอย่างของอาการ เช่น

  • อาการระดับที่ 1  แสดงอาการของใบหน้า : ม่านตาหดเล็ก ตายุบจม หน้าตึง หูตั้ง กรามแข็งค้าง
  • อาการระดับที่ 2 สุนัขยังเดินได้ : กลืนลำบาก เดินแข็งๆ แขนขาเหยียด หางตึง 
  • อาการระดับที่ 3 สุนัขเดินไม่ได้แล้ว : กล้ามเนื้อสั่นกระตุก ชัก 
  • อาการระดับที่ 4 มีอาการของระบบอวัยวะภายใน : หัวใจและความดันโลหิตผิดปกติ หายใจไม่ได้ หยุดหายใจ  

การวินิจฉัย 

ในปัจจุบันยังคงมาจากประวัติความเสี่ยงได้รับเชื้อร่วมกับอาการทางคลินิกส่วนการเพาะเชื้อจากแผลที่สงสัยนั้นมักจะไม่ได้ผล เนื่องจากเชื้อเจริญเติบโตในภาวะไร้อากาศการตรวจเลือดมักไม่พบความผิดปกตินอกจากค่าเอนไซม์กล้ามเนื้อสูงซึ่งไม่ได้จำเพาะกับโรคบาดทะยักเพียงโรคเดียว 

การรักษาประกอบด้วย

  • กำจัดแหล่งของเชื้อ : ทำความสะอาดแผล
  • ให้ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาลดอาเจียนตามอาการ 
  • ให้ anti-toxin เพื่อจับกับสารพิษที่ยังล่องลอยในร่างกาย 
  • ควบคุมสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ไร้เสียงและแสงรบกวน รวมถึงการใช้ยาสงบประสาท อาจช่วยปิดด้วยผ้า
  • หากเดินไม่ได้ให้ช่วยพลิกตัวเป็นระยะเพื่อป้องกันแผลกดทับและโรคปอดแทรกซ้อน 
  • หากกลืนอาหารไม่ได้  อาจต้องสอดท่ออาหารลงกระเพาะเพื่อป้อนอาหารและยา 
  • หากหายใจไม่ได้อาจต้องให้ยาสลบและใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • เมื่อเริ่มฟื้นตัวจากยาดทะยักแล้วอาจจะต้องการกายภาพฟื้นฟู


  • อาการนอนฝันร้ายพบได้หลังจากหายจากบาดทะยักแล้วโดยแสดงอาการรุนแรงแตกต่างกัน

  • บาดทะยักไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ในคนจำเป็นต้องทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักให้ครบ ส่วนในสัตว์นั้นยังไม่มีข้อกำหนดให้เป็นวัคซีนสำคัญ อาจเนื่องจากความไวต่อเชื้อยังต่ำและยังไม่มีวัคซีนที่ผลิตขึ้นมาสำหรับสัตว์โดยเฉพาะด้วย 



 





Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยง สนใจบริการ อาบน้ำตัดขน ว่ายน้ำ สั่งซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยงออนไลน์ สามารถสอบถามได้ที่


#ThonglorPetHospital #TheBestAlways

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor